top of page

หลักสูตรนักแปลบทพากย์ (Intensive Dubbing Translation)


กำหนดการอบรม หลักสูตรนักแปลบทพากย์

วันเสาร์-อาทิตย์ที่ ๑๘-๑๙ และ ๒๕-๒๖ มีนาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๐๐–๑๖.๐๐ น.

ณ ห้องประชุมโรงแรมสวนดุสิตเพลส มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ถ. นครราชสีมา กรุงเทพฯ

จัดโดย สมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย

๑. หลักการและเหตุผล

เมื่อเราชมสารคดี การ์ตูน หรือภาพยนตร์ต่างประเทศที่พากย์ไทย ก็มักจะได้ยินประโยคภาษาไทยแปลก ๆ “เกาะ” ภาษาต้นฉบับมากเกินไป ดังนั้น หากฟังเสียงพากย์ไทยก็ต้องทำใจ ทั้ง ๆ ที่เป็นปัญหาที่แก้ไขได้

นักพากย์เองก็มักไม่พอใจคุณภาพการแปล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้ภาษาไทยแปลก ๆ ดังที่กล่าวมา เรื่องประโยคยาวเกินไปทำให้พากย์ได้ไม่ตรงกับภาพ หรือบทแปลไม่ครบถ้วน รวมทั้งปัญหาอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดความยุ่งยาก

ในการทำงานพากย์ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะผู้แปลบทพากย์ขาดความเข้าใจและไม่ใส่ใจเท่าที่ควร ตลอดจนไม่ตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของตน ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญในกระบวนการผลิต เพื่อสร้างสรรค์ผลงานคุณภาพสู่สังคม อีกทั้งปัจจุบันธุรกิจทีวีดิจิตอลขยายตัว จึงเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้สนใจการแปลงานประเภทนี้

๒. ผู้รับผิดชอบการฝึกอบรม

สมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย

๒.๑ ดร. ถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล ผู้อำนวยการหลักสูตรและนายกสมาคมฯ

๒.๒ พิชญาพัทธ์ อรมังพุฒิกุล วิทยากร

๒.๓ อังสนา ทรัพย์สิน * ผู้ประสานงานหลักสูตร

* เพื่อประโยชน์ของท่าน กรุณาติดต่อผู้ประสานงานหลักสูตรก่อนโอนเงินค่าอบรม

๓. ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรการแปลบทพากย์ /Intensive Dubbing Translation

๔. วัตถุประสงค์

๔.๑ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการแปลบทพากย์

๔.๒ เพื่อเพิ่มพูนทักษะการแปลบทพากย์สำหรับนักแปลบทพากย์มือใหม่

๔.๓ เพื่อผลิตนักแปลบทพากย์ที่มีคุณภาพสู่ตลาดที่กำลังขยายตัว

๕. หัวข้อการอบรม

สัปดาห์ที่ ๑ ทักษะที่จำเป็นของนักแปลบทพากย์, หลักการแปลบทพากย์ เช่นการตีความตัวละคร ลักษณะเฉพาะของบทพากย์, การสร้าง Format บทพากย์, องค์ประกอบของบทพากย์, สิ่งที่นักแปลต้องคำนึงถึง, คำที่ห้ามใช้, สำนวนการแปลต่าง ๆ และการจำกัดจำนวนพยางค์ต่อประโยค

สัปดาห์ที่ ๒ แสดงความคิดเห็น ฝึกการสังเกตบทพากย์ตัวอย่าง, การแปลบทพากย์สำหรับสารคดี การ์ตูน และภาพยนตร์, ปัญหาที่พบบ่อย หลักการตรวจแก้บทพากย์ก่อนส่งงาน และข้อแนะนำเพื่อการแก้ปัญหา

๖. กิจกรรมการอบรม

๖.๑ วิทยากรบรรยาย

๖.๒ แนะนำวิธีพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษ เพื่อการแปลบทพากย์ การตีความต้นฉบับ การ

ตีความตัวละคร การถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกของตัวละคร

๖.๓ ปลูกฝังนิสัยช่างสังเกต การคิดวิเคราะห์รูปแบบการใช้ภาษาและการเลือกใช้คำ การแปลเกาะต้นฉบับ การแปลแบบตีความ และวิเคราะห์การแปลผิด

๖.๔ ปลูกฝังจิตสำนึกในการทำงานของนักแปลบทพากย์ และแนะนำข้อควรระวังต่าง ๆ เพื่อการเป็นนักแปลบทพากย์ที่มีคุณภาพ

๖.๕ เสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์

๖.๖ ฝึกแปลบทพากย์จากตัวอย่างงานจริง ร่วมกันวิเคราะห์วิจารณ์และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

๖.๗ ประเมินผลการเรียนรู้จากผลงานแปล ความกระตือรือร้นในการฝึกปฏิบัติ และการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น

๗. ระยะเวลาและสถานที่จัดอบรม

วันเสาร์-อาทิตย์ที่ ๑๘-๑๙ และ ๒๕-๒๖ มีนาคม ๒๕๖๐ รวม ๔ วัน เวลา ๐๙.๐๐–๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุมโรงแรมสวนดุสิตเพลส มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ถ. นครราชสีมา กรุงเทพฯ

๘. จำนวนผู้เข้ารับการอบรม

รับสมัครไม่เกิน ๑๕ คน

๙. ค่าลงทะเบียนเข้าอบรม

สมาชิกตลอดชีพคนละ ๓,๖๐๐.- บาท

ผู้สนใจทั่วไปคนละ ๕,๖๐๐.- บาท (รวมค่าสมัครสมาชิกตลอดชีพ ๒,๐๐๐.- บาท)

* เพื่อประโยชน์ของท่าน กรุณาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ผู้ประสานงานหลักสูตร คุณอังสนา ทรัพย์สิน ทาง tiatangsana@gmail.com

๑๐. สิ่งที่ผู้เรียนต้องนำมาด้วย

โน้ตบุ๊คและหูฟัง

๑๑. เกณฑ์ได้รับประกาศนียบัตร

เข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕ (ขาดได้ไม่เกิน ๑ วัน)

๑๒. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑๒.๑ ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ และเพิ่มพูนทักษะเรื่องการแปลบทพากย์

๑๒.๒ ผู้เรียนได้เรียนรู้ช่องทางใหม่ ๆ ที่จะเป็นโอกาสในการทำงานประเภทนี้

๑๒.๓ สมาคมฯ ได้พัฒนานักแปลบทพากย์ที่มีคุณภาพสู่ตลาดที่กำลังขยายตัว

_________________________________________________________________________

Featured Posts
bottom of page