top of page

หลักสูตรการแปลหนังสือสาระความรู้ (non-fiction)


ระหว่างวันเสาร์-อาทิตย์ที่ ๒๘-๒๙ พฤษภาคม และ ๔-๕ มิถุนายน ๒๕๕๙

ณ ห้องประชุมสปาฟา ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพฯ

หลักการและเหตุผล

การแปลหนังสือที่มีจุดประสงค์เพื่อมุ่งให้สาระความรู้ (non-fiction) จำเป็นต้องแปลอย่างถูกต้องแปลไม่ขาด ไม่เกิน หลักการนี้ใช้ได้ในการแปลหนังสือ non-fiction ทุกแขนง เช่น หนังสือ How-to, บทความสารคดี, วิทยาศาสตร์ และวรรณกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ใช่บันเทิงคดี (Non-fiction) หลักสูตรนี้จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการแปลหนังสือ non-fiction ซึ่งจะทำให้คุณภาพงานแปลดีขึ้น

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้ผู้เรียนอ่านหนังสือ non-fiction ได้แตกฉานยิ่งขึ้น

๒. เพื่อทำให้การแปลเป็นเรื่องสนุก

๓. เพื่อเพิ่มพูนทักษะการแปลหนังสือ non-fiction

๔. เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในงานแปลประเภทอื่น

หัวข้อการอบรม

ปัจจัยและทักษะที่จำเป็นสำหรับการแปลหนังสือ non-fiction การตีความประโยค การแปลให้อ่านเข้าใจง่าย

วิธีการอบรม

เน้นให้ผู้เรียนฝึกแปล เสนอผลงาน ออกความคิดเห็น แก้ไขงาน มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิทยากรและผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนด้วยกัน โดยเอกสารที่ใช้เกือบทั้งหมดเป็นต้นฉบับที่วิทยากรได้ทำการแปลมาแล้ว จึงรู้ว่าจุดไหนน่าจะเป็นจุดที่ผิดพลาดในการแปล จุดไหนทำให้ผู้แปลเข้าใจผิดได้ง่าย

หัวข้อการสอน

  • การแปลบทความวิชาการ

  • การแปลสารคดี

  • การแปลชีวประวัติ

  • การแปลบทความวิทยาศาสตร์

  • การแปลบทความอื่น ๆ โดยใช้หลักการแปลที่เรียน

  • การปรับแก้บทแปลที่แปลไม่ถูกต้อง

  • การอภิปรายคำแปลที่พบเห็นอยู่เป็นประจำ

  • วิทยากรให้ข้อคิดเห็นที่นักแปลควรรู้

ประโยชน์ที่คาดว่าผู้รับการอบรมจะได้รับ

  • แปลงานวิชาการ, How-to, สารคดี ได้ดียิ่งขึ้น

  • คิดวิเคราะห์ด้วยเหตุและผล

  • รู้วิธีแก้ไขปัญหาในการแปล

ผู้รับผิดชอบการฝึกอบรม

สมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย

๒.๑ ดร. ถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล ผู้อำนวยการหลักสูตรและนายกสมาคมฯ

๒.๒ อาจารย์วิฑูรย์ ภูริปัญญวานิช วิทยากร

๒.๓ กัลยภรณ์ จุลดุลย์ * ผู้ประสานงานหลักสูตร

* เพื่อประโยชน์ของท่าน กรุณาติดต่อผู้ประสานงานหลักสูตรก่อนโอนเงินค่าอบรม

กลุ่มเป้าหมาย

  • บุคคลทั่วไป

  • นักแปลเอกสารธุรกิจและวิชาการ

คุณสมบัติของผู้รับการอบรม

มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับดี (ต้องรู้หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ)

จำนวนผู้เข้ารับการอบรม รับสมัครไม่เกิน ๑๕ คน

ระยะเวลาและสถานที่จัดอบรม

วันเสาร์-อาทิตย์ที่ ๒๘-๒๙ พฤษภาคม และวันเสาร์-อาทิตย์ที่ ๔-๕ มิถุนายน ๒๕๕๙ ตั้งแต่ ๙.๐๐ ถึง ๑๖.๓๐ น. (รวม ๔ วัน)

ณ ห้องประชุมศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ (สปาฟา) ถนนศรีอยุธยา สามเสน เทเวศร์ กรุงเทพฯ

ค่าลงทะเบียน

สมาชิกตลอดชีพคนละ ๓,๖๐๐ บาท

ผู้สนใจทั่วไปคนละ ๕,๖๐๐ บาท (รวมค่าสมัครสมาชิกตลอดชีพ ๒,๐๐๐ บาท)

รวมค่าอาหารกลางวัน อาหารว่าง และเอกสาร-อุปกรณ์ประกอบการอบรม

ผู้สนใจเข้าอบกรมกรุณาติดต่อผู้ประสานงานหลักสูตร คุณกัลยภรณ์ จุลดุลย์ khalyabhorn@gmail.com หรือโทร. ๐๙ ๔๓๖๔ ๗๕๘๑

Featured Posts
bottom of page