top of page

โครงการอบรม “การแปลโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย” (Computer-Assisted Translation)

๑.หลักการและเหตุผล

คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยทำงานในสาขาอาชีพต่าง ๆ มากมาย เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการเก็บรักษา (storage) เรียกค้น (retrieval) และประมวลผล (processing) คุณลักษณะเหล่านี้มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อกิจกรรมในการแปลภาษา อุตสาหกรรมการแปลเชิงพาณิชย์มีการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้กับการแปลโดยเฉพาะ เรียกว่า Computer Aided Translation หรือ Computer Assisted Translation (CAT) ซอฟต์แวร์ประเภท CAT แบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีวิธีใช้งานแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์

๒.วัตถุประสงค์

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นปูพื้นฐานการใช้ CAT และเครื่องมืออื่น ๆ ในคอมพิวเตอร์สำหรับผู้เริ่มต้น ทำความเข้าใจกับซอฟต์แวร์ CAT กลุ่มต่าง ๆ และมุ่งเน้นการใช้ Translation Memory Tools รวมถึงการใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าสูงสุด จุดเด่น/จุดด้อยของการใช้โปรแกรมช่วยแปล ความแตกต่างระหว่าง “โปรแกรมแปล” กับ “โปรแกรมช่วยแปล” นอกจากนี้จะอธิบายถึงวิธีการใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ทั่วไปกับกิจกรรมการแปลด้วย

๓. หัวข้อฝึกอบรม

๑) ทำความรู้จักกับคอมพิวเตอร์

– ฮาร์ดแวร์/ซอฟต์แวร์/แพลตฟอร์ม/แอป คืออะไร – การทำงานกับคอมพิวเตอร์ – การจัดระเบียบข้อมูลของคุณเอง

๒) วิธีใช้ CAT Tools

– การเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม และคุ้มค่ากับการลงทุน – การติดตั้ง – การตั้งค่า – การปฏิบัติงาน – Spelling /grammar checker – Terminology manager – Concordance tools – Translation memory tools – Machine translation tools – การจัดการฐานข้อมูลการแปล ฐานข้อมูลคำศัพท์ – การใช้ CAT Tools กับไฟล์ประเภทต่าง ๆ เช่น RTF, DOC, XLS, PPT, HTML

๓) วิธีใช้เครื่องมืออื่น ๆ ที่ไม่ใช่ CAT

– การจัดการไฟล์ประเภทต่าง ๆ และการแปลงรูปแบบ – การจัดการข้อความ (text manipulation)

๔. ผู้รับผิดชอบการฝึกอบรม

– อาจารย์จงจิต อรรถยุกติ นายกสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย

ผู้อำนวยการโครงการ – อาจารย์ปกรณ์ กฤษประจันต์

วิทยากร กรรมการผู้จัดการ บจก. เวิร์ดดักท์ ล่าม – นักแปลอิสระ

– ชณัณกร เพ็ชรวัฒนา ผู้ประสานงาน

๕. กลุ่มเป้าหมาย

ผู้สนใจใช้โปรแกรมช่วยแปล ประเภท Translation Memory จำนวน ๑๕ คน (ตามลำดับของการโอนเงิน)

๖. ระยะเวลา – สถานที่ฝึกอบรม

ระหว่าวันเสาร์ที่ ๑๓ ธันวาคม – วันอาทิตย์ที่ ๑๔ ธันวาคม และ วันเสาร์ที่ ๒๐ – วันอาทิตย์ที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ รวม ๔ วัน ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุมศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ (สปาฟา) ถนนศรีอยุธยา สามเสน เทเวศร์ กรุงเทพฯ

๗. ค่าลงทะเบียนเข้าอบรม

สมาชิกคนละ ๓,๐๐๐.- บาท ผู้สนใจทั่วไปคนละ ๕,๐๐๐.- บาท (รวมค่าสมาชิกตลอดชีพ ๒,๐๐๐.- บาท) รวมค่าอาหารกลางวัน อาหารว่าง และเอกสารประกอบการอบรม สอบถามรายละเอียดการอบรมได้ที่ krisprachant@live.com

ส่งใบสมัครเข้ารับการอบรม ใบสมัครสมาชิก และหลักฐานการโอนเงิน ได้ที่ nantawan_m21@yahoo.com, tiatprograms@gmail.com หรือ โทรสาร 0 – 2948 4628

Download ใบสมัครได้ที่เว็บไซต์ของสมาคม ฯ www.thaitiat.com

๘. สิ่งที่ผู้เข้าอบรมต้องเตรียม

คอมพิวเตอร์ระบบ MS Windows XP หรือ MS Windows 7 มีความรู้พื้นฐานในการใช้คอมพิวเตอร์

๙. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑)รู้วิธีการเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม และคุ้มค่ากับการลงทุนทั้งที่เป็น CAT Tools และมิใช่ CAT ๒) รู้วิธีการติดตั้ง การตั้งค่า การปฏิบัติงาน การจัดการฐานข้อมูลการแปลและฐานข้อมูลคำศัพท์ การจัดการข้อความ การจัดการไฟล์ประเภทต่าง ๆ และการแปลงรูปแบบ ฯลฯ ๓) ทำให้การแปลงานมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น.

cropped-cropped-stock-.jpg

Featured Posts
bottom of page