Project Description
หลักสูตรล่ามอาชีพ อาชีพล่าม (Professional Interpretation Course)
อบรมระหว่างวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ถึง ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๑ เวลา ๙.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.
ที่ห้องประชุมชั้น 2 อาคารสปาฟา เทเวศร์ ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพฯ
จัดโดย สมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย
หลักการและเหตุผล
การล่ามเป็นสาขาหนึ่งของศาสตร์การแปลที่มุ่งเน้นการแปลทางวาจา โดยตีความเจตนาของต้นฉบับทั้งจากวัจนภาษาและอวัจนภาษา ล่ามเป็นวิชาชีพที่เป็นที่ต้องการอย่างมากในหลายวงการ
หลักสูตรล่ามอาชีพของสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทยเน้นการฝึกปฏิบัติ ถ่ายทอดหลักการปฏิบัติงานล่ามผ่านการลงมือทำ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับวิทยากรที่มีความชำนาญในการล่ามแบบต่าง ๆ
วัตถุประสงค์
- เสริมสร้างความเข้าใจและเพิ่มพูนประสบการณ์ในการปฏิบัติงานล่าม
- พัฒนาทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานล่ามแบบต่างๆ
หัวข้อการอบรม
- องค์ประกอบ 1 หลักการปฏิบัติงานล่าม
– การแปลแบบตีความ
– การสื่อความข้ามวัฒนธรรม
– การปฏิบัติงานล่ามแบบต่างๆ
– หลักจริยธรรมและมารยาทของล่าม
- องค์ประกอบ 2 ทักษะการล่าม (ฝึกปฏิบัติ)
– การแปลแบบ Sight Translation
– การแปลล่ามแบบพูดตาม (Consecutive Interpretation)
o การอบรม สัมมนา Liaison
– การแปลล่ามแบบพูดพร้อม (Simultaneous Interpretation)
o การประชุม อบรม สัมมนา การใช้อุปกรณ์แบบ Tour Guide การล่ามแบบกระซิบ
- องค์ประกอบ 3 การฝึกนอกสถานที่ (ฝึกปฏิบัติ)
– การจำลองการปฏิบัติงานล่ามนอกสถานที่ (ใช้อุปกรณ์ Tour Guide)
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. ฟังการบรรยาย ร่วมอภิปราย แลกเปลี่ยนประสบการณ์
2. ฝึกปฏิบัติในบูธล่าม ใช้เนื้อหาจากวิดีโอและบุคคลจริง
3. พัฒนาทักษะจากการวิจารณ์ของวิทยากรและผู้ร่วมอบรม
ระยะเวลาอบรม
อบรมวันเสาร์-อาทิตย์ รวม 24 วัน (168 ชั่วโมง)
วันที่ 12 พฤษภาคม ถึง 12 สิงหาคม 2561 เวลา 9.00 – 17.00 น.
(งดอบรมวันที่ 16-17 มิถุนายน และ 28-29 กรกฎาคม)
ค่าอบรม
46,000 บาท (รับเฉพาะสมาชิกตลอดชีพ)
(รวมค่าอาหารกลางวัน อาหารว่าง และเอกสารประกอบการอบรม)
สถานที่อบรม
ห้องประชุมชั้น 2 อาคารสปาฟา เทเวศร์ ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพฯ
จำนวนผู้เรียน
ไม่เกิน 12 คน
คุณสมบัติของผู้เรียน
มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับดีมาก
เกณฑ์ได้รับประกาศนียบัตร
ชั่วโมงเรียนไม่น้อยกว่า 80% (ขาดไม่เกิน 3 วัน) และทำงานที่มอบหมายครบถ้วน
กลุ่มเป้าหมาย
– ผู้สนใจประกอบวิชาชีพล่าม
– ผู้ที่ทำงานตำแหน่งที่ต้องปฏิบัติงานล่าม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้อบรมสามารถพัฒนาทักษะให้พร้อมประกอบวิชาชีพเป็นล่ามที่มีคุณภาพ
2. ผู้อบรมเกิดความเข้าใจและสามารถพัฒนาทักษะการล่ามของตนเอง
วิทยากร
- อ. จงจิต อรรถยุกติ ที่ปรึกษาสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย
- นายปกรณ์ กฤษประจันต์
ผู้อำนวยการหลักสูตร – ดร. ถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล
ผู้ประสานงานหลักสูตร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อคุณปกรณ์ กฤษประจันต์ (krisprachant@gmail.com)
หมายเหตุ กำหนดเวลาและเนื้อหาหลักสูตรอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม