• หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • หลักสูตร
  • ทรัพยากรการแปล
  • รางวัลสุรินทราชา
  • ติดต่อเรา
  • เข้าสู่ระบบ
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • หลักสูตร
  • ทรัพยากรการแปล
  • รางวัลสุรินทราชา
  • ติดต่อเรา
  • เข้าสู่ระบบ

เกี่ยวกับ “มาตรฐานอาชีพนักแปล”

เมื่อพ.ศ. 2557 สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (TPQI) เริ่มจัดทำมาตรฐานอาชีพนักแปลพร้อมกับอีก 5 อาชีพ จาก 6 อาชีพในสาขาวิชาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์คือ นักเขียน นักวาดภาพประกอบ นักออกแบบกราฟิก นักพิสูจน์อักษร และ บรรณาธิการ ทั้งนี้ โดยความร่วมมือระหว่างสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย (TIAT) สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (TPQI) การจัดทำมาตรฐานอาชีพนักแปลเสร็จสิ้นเมื่อพ.ศ. 2559
สมรรถนะบุคคลอาชีพนักแปล

มาตรฐานอาชีพนักแปลจัดทำตามกรอบของมาตรฐานสากล ISO/IEC 17024 และกรอบคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติ ซึ่งแบ่งระดับคุณวุฒิวิชาชีพออกเป็น 7 ระดับ คือ
ระดับ 1 ผู้ปฏิบัติงานที่ใช้ทักษะเบื้องต้น
ระดับ 2 ผู้ปฏิบัติงานที่ใช้ทักษะอาชีพระดับกึ่งฝีมือ
ระดับ 3 ผู้ปฏิบัติงานเฉพาะทาง
ระดับ 4 ผู้เชี่ยวชาญในอาชีพระดับต้น, ผู้บริหารระดับต้น
ระดับ 5 ผู้เชี่ยวชาญในอาชีพ, ผู้บริหารระดับกลาง
ระดับ 6 ผู้เชี่ยวชาญในอาชีพ, ผู้บริหารระดับสูง
ระดับ 7 ผู้เชี่ยวชาญในอาชีพระดับพิเศษ, ผู้บริหารอาวุโสระดับสูง

มีการกำหนดทักษะและความสามารถของแต่ละระดับไว้ชัดเจน ซึ่งบุคคลในแต่ละอาชีพจะพิจารณาตามลักษณะการทำงานในอาชีพของตนเองแล้วจัดทำมาตรฐานในระดับที่ต้องการ

สำหรับอาชีพนักแปล ได้จัดทำมาตรฐานนักแปลตั้งแต่ระดับ 4 ถึงระดับ 6 เนื่องจากต้องการวัดและรับรองสมรรถนะบุคคลที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในอาชีพแล้วเท่านั้น คือระดับ 4 ขึ้นไป แต่ไม่ถึงระดับ 7 เพราะตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติกำหนดว่า ผู้ที่อยู่ในระดับ 7 จะต้องเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ สาขาอาชีพนักแปลในปัจจุบันมีบุคคลที่มีคุณสมบัติดังกล่าวจำนวนน้อย

องค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ (Certified Body)
เมื่อจัดทำมาตรฐานอาชีพนักแปลเสร็จแล้ว จำเป็นต้องมีองค์กรจัดสอบเพื่อรับรองสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพนักแปล แต่เนื่องจากสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทยยังไม่มีคุณสมบัติ (ตามข้อกำหนด ISO/IEC 17024) ที่จะขอจัดตั้งเป็นองค์กรรับรองฯ เพราะไม่มีสถานที่ทำงานเป็นของตนเองและไม่มีบุคลากรทำงานประจำ สมาคมและชมรมอื่น ๆ อีก 5 อาชีพที่จัดทำมาตรฐานอาชีพมาพร้อมกันก็ไม่พร้อมที่จะขอจัดตั้งเป็นองค์กรรับรองฯ เช่นกัน ดังนั้น ทั้ง 6 อาชีพจึงขอให้สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย เป็นผู้ขอจัดตั้งเป็นองค์กรรับรองฯ สำหรับทั้ง 6 อาชีพต่อมา สมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ ผ่านการตรวจประเมินและได้รับการรับรองจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพให้เป็น “องค์กรรับรองสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์” และจัดสอบประเมินสมรรถนะบุคคลทั้ง 6 อาชีพได้
การสอบประเมินสมรรถนะบุคคลอาชีพนักแปล
องค์กรรับรองสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์ได้จัดสอบเพื่อประเมินสมรรถนะบุคคลอาชีพนักแปลระดับ 4 ครั้งแรกเมื่อวันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2559 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ภายหลังการสอบ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาทบทวนข้อสอบและเกณฑ์การสอบประเมินสมรรถนะนักแปล คณะอนุกรรมการดังกล่าวได้จัดตั้งคณะทำงาน 2 ชุด โดยชุดที่ 1 จัดทำข้อสอบเพิ่มเติมเป็นปรนัย (ข้อสอบคัดกรอง) ข้อสอบคัดกรองนี้เดิมไม่มี จึงต้องจัดทำใหม่ทั้งหมด คณะทำงานชุดที่ 2 ปรับปรุงข้อสอบอัตนัย (เครื่องมือประเมินสมรรถนะบุคคล) ที่มีอยู่เดิม
หัวข้อที่ผู้เข้าสอบจะต้องเตรียมตัวสำหรับการสอบปรนัย ได้แก่ ทฤษฎีและหลักการแปล แหล่งข้อมูลสำหรับค้นคว้าในการทำงานแปล จรรยาบรรณ (รวมเรื่องลิขสิทธิ์) ความรู้ด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ การแปลงานประเภทต่าง ๆ การตรวจงานแปลเบื้องต้น และการขัดเกลางานแปล ส่วนข้อสอบอัตนัย จะมีเนื้อเรื่องให้ 2 เรื่อง ความยาวประมาณเรื่องละ 300 คำ ผู้เข้าสอบจะต้องแปลทั้ง 2 เรื่อง เกณฑ์ผ่านของข้อสอบทั้งปรนัยและอัตนัยคือร้อยละ 80 เมื่อสอบข้อสอบปรนัย (ในช่วงเช้า) ผ่านเกณฑ์แล้ว จึงจะมีสิทธิ์สอบข้อสอบอัตนัย (ในช่วงบ่าย)
ใบรับรอง
เมื่อสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนดข้างต้นแล้ว ผู้สอบจะได้รับใบรับรอง 2 ใบคือ
1. ใบคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งจะใช้ได้ตลอดไป
2. ใบรับรองมาตรฐานอาชีพนักแปล มีอายุ 3 ปี หากต้องการใช้ต่อไปต้องต่ออายุ หรือสอบเลื่อนระดับ
ใบรับรองทั้ง 2 ใบนี้ ผู้ครอบครองใช้ประกอบกับวุฒิการศึกษาในการสมัครงานได้ตามที่แต่ละองค์กรกำหนด

*** ติดตามข่าวสารและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสอบประเมินสมรรถนะบุคคลอาชีพนักแปลได้ที่ เฟซบุ๊ก “องค์กรรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์” หรือที่ สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) โทร 02-954-9560

More from my site

  • ศูนย์การแปลและการล่าม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลรับสมัครสอบนักแปลศูนย์การแปลและการล่าม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลรับสมัครสอบนักแปล
  • บรรยากาศงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๒๕๖๑บรรยากาศงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๒๕๖๑
  • โครงการเสวนาประเด็นการแปลวรรณกรรมเรื่อง Animal Farmโครงการเสวนาประเด็นการแปลวรรณกรรมเรื่อง Animal Farm
  • งานวันนักแปลและล่าม ครั้งที่ ๑๓งานวันนักแปลและล่าม ครั้งที่ ๑๓
  • เรื่อง เชิญร่วมงานวันนักแปลและล่าม ครั้งที่ ๑๒เรื่อง เชิญร่วมงานวันนักแปลและล่าม ครั้งที่ ๑๒
  • ภาพบรรยากาศวันประชุมใหญ่สามัญประจำปี สมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทยภาพบรรยากาศวันประชุมใหญ่สามัญประจำปี สมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย
  • Posted by Patima Rachatawarn
  • On June 9, 2017
  • 0 Comments
  • 1 likes

0 Comments

Archives
  • November 2020
  • February 2020
  • January 2020
  • October 2019
  • September 2019
  • June 2019
  • March 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • November 2018
  • October 2018
  • May 2018
  • March 2018
  • February 2018
  • June 2017
  • December 2016
Categories
  • ข่าวสารจากสมาคม (13)
  • ข่าวสารวงการแปลและล่าม (1)
  • จดหมายข่าว (1)
  • ทรัพยากรการแปลและการล่าม (16)
  • รามเกียรติ์ (2)

รามเกียรติ์ ตอนที่ ๗ นางสีดาผู้อาภัพ

Previous thumb

สารจาก ดร.ถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล

Next thumb
Scroll
สมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทยไม่ให้การรับรองหรืออนุญาตให้บุคคลหรือหน่วยงานใดใช้เครื่องหมายสมาคมเพื่อการประชาสัมพันธ์หรือเพื่อประโยชน์ทางการค้า ไม่ว่าในกรณีใดๆ การกระทำดังกล่าว เป็นการกระทำโดยไม่ได้รับอนุญาต และไม่มีผลรับรองหรือแสดงความเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น